วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ส้ม อ้าาาาา สุดๆๆ


มีการระบุว่าได้มีการปลูกส้มมานานหลายพันปีมาแล้ว เชื่อกันว่า ส้มหลายชนิด (species) ที่อยู่ในสกุลซิทรัส เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด หรือเป็นพืชท้องถิ่นดั้งเดิมในเขตร้อน และเขตกึ่งร้อนของทวีปเอเชียและกลุ่มเกาะมลายู ในประเทศไทยไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่ามีการปลูกส้มกันมาตั้งแต่เมื่อใด พบแต่เพียงรายงานซึ่งมีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ หรือกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว ที่กล่าวถึงส้มชนิดต่างๆ ๓ ชนิด คือ ส้มโอ ส้มแก้ว และมะกรูด สำหรับส้มเขียวหวานนั้นไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน มีข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการเพาะเมล็ด และขยายพันธุ์จากส้มแก้ว หรือเกิดจากพันธุ์ที่ชาวจีนนำเข้ามาปลูกในภาคกลางเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว ต่อมาจึงมีการนำไปกระจายปลูกในภาคอื่นๆ และเรียกกันว่า ส้มเขียวหวาน เพราะเมื่อผลส้มสุกหรือแก่จัดแล้ว ส่วนเปลือกยังคงมีสีเขียว แต่มีรสชาติหวาน เป็นลักษณะของส้มทั่วไปที่ปลูกในภาคกลาง หรือในพื้นที่ที่อุณหภูมิไม่เย็นจัด

ส่วนต่างๆที่สำคัญของส้ม ได้แก่ ลำต้น กิ่งก้าน ใบและก้านใบ หนาม ดอก ผล เมล็ด และราก ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่ออธิบายลักษณะของส้มแต่ละชนิดแต่ละพันธุ์ และใช้จำแนกความแตกต่าง ตลอดจนใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์
๑. ลำต้น ส้มชนิดที่ปลูกกันโดยทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดกลางมีความสูงประมาณ ๔ - ๘ เมตร ส้มโอที่มีอายุมากอาจมีความสูงได้ถึง ๑๐ - ๑๕ เมตร ความสูงของต้นส้มจะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ส้มมีทรงต้นโปร่ง มีการแตกกิ่งก้านแผ่เป็นพุ่ม รัศมีของทรงพุ่มประมาณ ๒ - ๕ เมตร มีใบ ตาข้าง ดอกและผลเกิดอยู่บนกิ่ง หนามจะอยู่ด้านข้างของตา การจัดเรียงตัวของใบส้ม (phyllotaxy) ทั่วไปมีค่าเท่ากับ ๓ / ๘
๒. ใบ ใบส้มจัดเป็นใบเดี่ยว แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเรียกว่าแผ่นใบ หรือตัวใบ แผ่นใบมีรูปร่างกลมมน เรียวยาว รูปไข่ยาวหรือรูปโล่ ปลายใบแหลมหรือป้าน ขอบใบอาจเรียบหรือหยัก สีของใบมีตั้งแต่สีเขียวอมเหลืองถึงสีเขียวอมดำ ส่วนที่สองคือก้านใบ ซึ่งมีส่วนของก้านใบที่เรียกว่า หูใบ (wing) มีลักษณะเป็นปีก รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ อาจเล็กแคบหรือมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวใบ ลักษณะของแผ่นใบ สี ขนาด และหูใบ สามารถนำมาใช้จำแนกชนิดและพันธุ์ส้มได้ บนแผ่นใบมีต่อมน้ำมัน (oil gland) ขนาดเล็กหรือใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป น้ำมันส้มมีกลิ่นเฉพาะแตกต่างกันตามชนิดและสายพันธุ์
๓. ดอก ดอกส้มเกิดที่ปลายยอดอ่อนหรือที่มุมใบ อาจเกิดเป็นดอกเดี่ยว (solitary) หรือช่อดอก (inflorescence) เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) อยู่บนฐานรองดอก (receptacle) ซึ่งเป็นส่วนของก้านดอก (peduncle) ส่วนของดอกประกอบด้วยชั้นต่างๆ ๔ วง เรียงจากวงนอกสุด คือ กลีบเลี้ยง (calyx หรือ sepal) กลีบดอก (corolla หรือ petal) เกสรตัวผู้ (androecium หรือ stamen) และเกสรตัวเมีย (gynaecium หรือ pistil) กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กและมีสีเขียวหรือสีเขียวอ่อน กลีบดอกมีจำนวน ๕ กลีบ มีสีขาว แต่อาจมีสีอมเขียวหรือมีสีม่วงแต้มในส้มบางชนิด ที่กลีบดอกมักมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ เกสรตัวผู้มีจำนวน ๒๐ - ๔๐ อัน มีก้าน (filament) สีขาว ยาว ส่วนปลายเป็นอับเกสร (anther) สีเหลือง ภายในมีละอองเกสร (pollen) จำนวนมาก ชั้นในสุด คือ เกสรตัวเมีย ประกอบด้วย รังไข่ (ovary) รูปร่างกลม สีเขียว ตั้งอยู่บนจานซึ่งเป็นส่วนของต่อมน้ำหวาน ส่วนปลายของรังไข่เป็นก้านชูเกสรตัวเมีย (style) และที่รับละอองเกสร (stigma) เมื่อดอกส้มบานจะมีกลิ่นหอมมาก
๔. ผล ผลส้ม คือ ส่วนที่เจริญและพัฒนามาจากส่วนของรังไข่ เกิดขึ้นภายหลังจากการถ่ายละอองเกสร (pollination) โดยลมหรือแมลง และเกิดการปฏิสนธิ (fertilization) ผลส้มโดยทั่วไปมีกลีบผลอยู่จำนวน ๑๐ กลีบ อาจมีจำนวนกลีบมากหรือน้อยกว่าในแต่ละสายพันธุ์ กลีบเชื่อมติดกันเป็นวงกลมล้อมรอบแกนกลางของผล เมื่อส้มเริ่มติดผลและพัฒนาจนเป็นผลที่สมบูรณ์ส่วนของผนังงไข่ (ovary wall) จะพัฒนาเปลี่ยนไปเป็นส่วนหนึ่งของผล คือ ส่วนเปลือกชั้นนอกสุด ที่มีสีเขียวหรืออาจเปลี่ยนเป็นสีอื่นเมื่อสุก เปลือกส่วนกลางที่มีลักษณะนุ่ม มีสีขาว อาจเป็นชั้นที่บางมากเช่นที่พบในส้มเขียวหวาน และส่วนในสุดที่เป็นเยื่อหุ้มกลีบ ผนังด้านในของส่วนในสุดนี้จะแบ่งเซลล์และขยายตัวออกกลายเป็นถุง (juice sac) ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำ น้ำตาล และสารอาหารต่างๆ
๕. เมล็ด เมล็ดส้มมีการเจริญและพัฒนามาจากไข่ (oval) รูปร่างคล้ายหยดน้ำ ด้านแหลมเป็นด้านที่รากงอกออกมา และด้านตรงข้ามซึ่งมีลักษณะป้าน รูปร่าง ขนาดของเมล็ด และสีของด้านป้านสามารถนำมาใช้เป็นลักษณะในการจำแนกชนิดและพันธุ์ส้มได้ เมล็ดประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆคือ เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ซึ่งมี ๒ ชั้น ชั้นนอกมีสีเหลืองฟางข้าว ส่วนชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบางสีน้ำตาล ต้นอ่อนหรือที่เรียกว่า เอ็มบริโอ (embryo) คือ ส่วนที่จะเจริญพัฒนากลายเป็นต้น และส่วนที่สะสมอาหารซึ่งเรียกว่า ใบเลี้ยง (cotyledon)
๖. ราก เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ส่วนของรากปฐมภูมิ (primary root) จะเจริญออกมาก่อน และมีการพัฒนากลายเป็นรากแก้ว (tap root) โดยปกติจะมีเพียงรากเดียว และมีการแตกแขนงออกไปเรียกว่า รากทุติยภูมิ (secondary root) รากที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า ไพโอเนียร์รูต (pioneer root) และที่มีลักษณะเป็นรากขนาดเล็กเป็นกระจุก เจริญมาจากรากแก้วเรียกว่า รากฝอย (fibrous root) โดยทั่วไปรากส้มจะอยู่ในดินระดับค่อนข้างตื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร รากจะทำหน้าที่หยั่งยึดลำต้นกับพื้นดิน ดูดแร่ธาตุอาหารและน้ำ


นอกจากการใช้ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนกพืชสวนแล้ว การจำแนกความแตกต่างของส้มแต่ละชนิด โดยใช้ลักษณะ ขนาด รูปทรงผล ผิวเปลือก สี เนื้อ รสชาติ ความหนาของเปลือก ขนาดและจำนวนของเมล็ด ฯลฯ รวมถึงความสำคัญหรือคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้สามารถแบ่งพืชกลุ่มส้มโดยเฉพาะส้มที่ปลูกออกเป็น ๔ กลุ่มคือ
๑. กลุ่มส้มติดเปลือก หรือกลุ่มส้มเกลี้ยง (oranges)
เป็นกลุ่มส้มที่เชื่อกันว่า มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียด้านที่ติดกับประเทศพม่าและประเทศจีน ปัจจุบันส้มในกลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มส้มที่มีการปลูกมากที่สุดในโลก ประเทศที่มีการปลูกส้มกลุ่มนี้มาก คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก สเปน และออสเตรเลีย ผลผลิตส้มส่วนใหญ่ใช้เพื่อบริโภคสดหรือคั้นเป็นน้ำส้มคั้นเข้มข้น ผลพลอยได้จากส้มชนิดนี้คือ น้ำมันหอมระเหย (essential oil) และเพกทิน (pectin)
ส้มในกลุ่มนี้ที่มีปลูกในประเทศไทยคือ ส้มเกลี้ยง และส้มตรา
๒. กลุ่มส้มเปลือกล่อน (mandarins)
ถิ่นกำเนิดของส้มในกลุ่มนี้คาดว่าอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เป็นกลุ่มส้มที่ปลูกแพร่หลายในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย สเปน อิสราเอล และไทย ผลผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้บริโภคสด เนื่องจากมีเปลือกบาง หลุดล่อนออกจากส่วนเนื้อได้ง่าย ผลอ่อนนุ่ม และมีรสหวาน
ส้มกลุ่มนี้ที่มีปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ส้มเขียวหวาน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มแก้ว
๓. กลุ่มส้มโอ (pomeloes) และเกรปฟรุต (grapefruits) ส้มในกลุ่มนี้น่าจะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ประเทศที่ปลูกมากและปลูกเพื่อการค้า ได้แก่ ประเทศไทย จีน เวียดนาม มาเลเซีย และไต้หวัน
๔. กลุ่มมะนาวหรือส้มที่มีรสเปรี้ยว (common acid members) ส้มในกลุ่มนี้ได้แก่ ส้มที่เรียกกันว่า ส้มซิตรอน (citron) ซึ่งได้แก่ ส้มมือ มะนาวฝรั่งหรือเลมอน (lemon) และมะนาว (lime) ส้มในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย การใช้ประโยชน์จากส้มในกลุ่มนี้ ได้แก่ การทำน้ำคั้น (lemonade) การสกัดสารน้ำมันจากผิวเปลือก และสารเพกทิน (pectin) รวมทั้งการใช้เป็นไม้ประดับ ส้มบางชนิด เช่น ส้มมือ ในหลายประเทศใช้เป็นส่วนผสมของสมุนไพร

ส้มโดยเฉพาะส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีผลผลิตตลอดปี มีจำหน่ายในตลาดทั่วไป ราคาไม่แพงสำหรับผู้บริโภคทุกชนชั้น และมีคุณค่าทางอาหารสูง ผลของการวิเคราะห์สารอาหารจากส้มเขียวหวาน ๑๐๐ กรัม โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก กล่าวคือ
คาร์โบไฮเดรต ๙.๙๐ กรัม, โปรตีน ๐.๖๐ กรัม, ไขมัน ๐.๒๐ กรัม, แคลเซียม ๓๑.๐๐ มิลลิกรัม, เหล็ก ๐.๘๐ มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส ๑๘.๐๐ มิลลิกรัม, วิตามินเอ ,๐๐๐ หน่วยสากล, วิตามินบี ๑ ๐.๐๔ มิลลิกรัม, วิตามินบี ๒ ๐.๐๕ มิลลิกรัม, วิตามินซี ๑๘.๐๐ มิลลิกรัม, เส้นใย ๐.๐๒ กรัม, ความชื้น ๘๘.๗๐ กรัม, แคลอรี ๔๔ หน่วย
ดังนั้น ผลส้มเขียวหวานหนัก ๑๐๐ กรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักเฉลี่ยของผลส้มเพียง ๑ ผล จะประกอบด้วยสารอาหารที่สำคัญ คือ แคลเซียม ๓๑ มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๘ มิลลิกรัม วิตามินซี ๑๘ มิลลิกรัม วิตามินเอ ๔,๐๐๐ หน่วย จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีราคาไม่แพง และเหมาะสำหรับการบริโภคประจำวัน
 สิ่งที่อยากให้ท่านได้ทราบจากการอ่านเรื่องนี้ก็คือ  การเตรียมการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวสวนส้มหรืออุตสาหกรรมส้มของประเทศไต้หวันหลังการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(  WTO)ซึ่งการเป็นสมาชิกองการการค้าโลกนี้จะทำให้ผลไม้และส้มจากต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในประเทศมากขึ้น  การสร้างความเข้มแข็งที่ว่านี้ก็คือการปรับปรุงการผลิตส้มของประเทศทั้งระบบเพื่อผลสำคัญสองเรื่องก็คือ  “ คุณภาพสูงแต่ต้นทุนต่ำ ”  เพื่อให้ชาวสวนยังสามารถแข่งขันและอยู่ได้  ข้อมูลนี้นำเสนอโดย  ดร.ลู  มิง  จุง ของภาควิชาพืชสวน  ม.แห่งชาติเชียยี่  ไต้หวันเมื่อเดือนพฤศจิกายน  2545  ที่ฮานอยซึ่งในวันนั้นผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งจากไทยที่เข้าร่วมประชุมด้วย  แม้จะนานมาแล้วแต่ก็อาจจะมีแง่คิดที่ดีไม่ส่างซา การเสนอเรื่องนี้จะแปลความให้อ่านง่ายเพื่อกลุ่มผู้อ่านหลักคือชาวสวน(ส้ม)และชาวสวนทั่วไปแต่ก็อยากจะให้เพื่อนร่วมวงการโดยเฉพาะนักส่งเสริมทั้งรัฐและเอกชน  รวมทั้งบรรดาครูบาอาจารย์ในชนบทหากมีโอกาสช่วยกันเผยแพร่แนวคิดและข้อมูลต่อไปนี้ไปให้มากๆจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคการผลิตพืชของประเทศ  จะทำให้เราได้เห็นภาพรวมของระบบการผลิตพืชเพื่อความยั่งยืนทั้งระบบหรือบูรณาการว่าทุกๆส่วนมีความสัมพันธ์กันและจะต้องทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องให้สมบูรณ์ที่สุด  การเสนอจะทยอยเป็นประเด็นๆเพื่อจะได้ไม่ต้องใช้สมาธิยาวจนเกินไป



       สวนส้มในไต้หวันส่วนใหญ่จะเป็นสวนขนาดเล็กๆโดยเจ้าของสวนจะเป็นผู้ดูแลควบคุมเองอย่างใกล้ชิดจึงสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีทีมงานนักวิชาการแต่ละด้านทั้งกระทรวงเกษตรฯและมหาวิทยาลัยต่างๆระดมสมองกันเข้าไปช่วย ศ. ดร.ลู  จุงเล่าให้ผมฟังว่าเพิ่งกลับจากไปดูงานตลาดส้มที่ออสเตรเลียก่อนที่จะมาประชุมที่เวียดนาม ท่านพูดถึงเรื่องๆหนึงซึ่งเป็นภาษาของการจัดการก็คือ  TQMS.  แปลความเป็นไทยก็น่าจะได้ว่าระบบการจัดการคุณภาพรวมซึ่งในบ้านเราสำหรับพืชก็นำมาแปลงเป็น  PQMS.ส่วนประมงก็แปลงเป็น  FQMS. และปศุสัตว์ก็เป็น  LQMS.  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มาจากพื้นฐานของระบบการจัดการทั้งสิ้น

       
สมัยนี้และยุคนี้ไม่ว่าเราจะทำอะไรให้สำเร็จนั้นผมคิดว่าเราจะต้องเข้าใจระบบหรือภาพรวมของสิ่งที่เราทำอยู่  หากไม่เข้าใจว่าตัวเองยืนอยู่ที่ไหนของภาพรวมของประเทศ  ของโลก(เพราะเราเป็นสมาชิกองการการค้าโลกทำให้คู่แข่งมาจากทุกมุมโลก)  หากเราไม่เข้าใจและไม่ปรับตัวเราหรือยังใช้วิถีชีวิตแบบเดิมๆก็อยู่ไม่ได้

ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็นมะนาว มะกรูด
อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิดทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม

สายพันธุ์ส้มที่นิยมปลูกในประเทศไทย
ส้มเกลี้ยง (Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ กิ่งก้านแข็งแรง มีหนามขนาดใหญ่ หลังจากปลุกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาร 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 7.5-8 เดือน
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. reticulata) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มจุก (Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มตรา (ส้มเช้ง) (Acidless Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ต้นส้มตราที่มีอายุ 5 ปี ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี นำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 6-8 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
ส้มโอ (Pummelo: C. grandis หรือ C. maxima) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-7 เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มที่มีอายุ 8 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผลต่อต้นต่อปี


การแบ่งกลุ่มของส้ม
ส้มเป็นพืชอยู่ในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกพืชตระกูลส้ม พบว่าตระกูลย่อยที่สำคัญที่สุด คือ ตระกุลย่อยของส้ม ซึ่งประกอบด้วยส้มชนิดต่าง ๆ มะขวิด มะตูม และส้มสามใบ อย่างไรก็ดี พืชตระกุลย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มส้มเกลี้ยงและส้มตรา (Orange group) แบ่งเป็นส้มที่มีรสหวาน (Sweet Orange: Citrus sinensis) และส้มทีมีรสเปรี้ยว หรืออาจมีรสออกขม (Sour or Bitter Orange: Citrus aurantium)
กลุ่มส้มจีน ส้มเขียวหวาน (Mandarin group) ได้แก่ ซัทซูมา มานดาริน (Satsuma Mandarin:Citrusunshiu) คิงส์ แมนดาริน (King Manderin: Citrus nobilis) เมดิเตอร์เรเนียน แมนดาริน (Mediterranean Mandarin: Citrus delicoia) คอมมอน แมนดาริน (Common Mandarin: Citrus reticulata)
กลุ่มส้มโอ และเกรฟฟรุท (Pummelo and Grapefruits) ได้แก่ ส้มโอ (Pummelo: Citrus maxima) และเกรฟฟรุท (Grapefruits: Citrus paradise)
กลุ่มมะนาว (Common acid member group) ได้แก่ ซิตรอน (Citron: Citrus medica) เลมอนหรือมะนาวฝรั่ง (Citrus lemon)
ส้มชนิดต่างๆ
มะกรูด (C. hystrix DC.)
มะนาว (C. aurantifolia Swing.)
เลมอน (C. limon Linn.)
ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.)
ส้มซ่า (C. aurantium Linn.)
ส้มโอ (C. grandis Osb. หรือ C. maxima)
ส้มโอมือ หรือ ส้มมือ (C. medica)


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลุก
ส้มเขียวหวานสามารถปลูกได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินเหนียวที่ปรับปรุงสภาพให้เหมาะสมโดยมีการยกร่อง และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ในกรณีที่ปลูกส้มเขียวหวานในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง มักจะพบปัญหาเรื่องโรครากเน่า โคนเน่าอยู่เสมอ ดินควรมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.7-6.9 และเนื่องจากส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน จึงไม่ชอบอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัดเกินไป แต่ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น เช่น ภาคเหนือของไทย สภาพอากาศจะมีผลทำให้ผิวมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น



ส้มเขียวหวานที่นิยมปลูกทั่วไปในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์บางมด ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมแป้นเล็กน้อย ก้นผลเรียบถึงเว้าเล็กน้อย ผิวมีสีเขียวอมเหลืองถึงเหลืองเข้ม ผิวเรียบ มีผิวสม่ำเสมอ เปลือกบางล่อน ปอกง่าย กลีบแยกออกจากกันง่าย มีกลีบประมาณ 11 กลีบ ผนังกลีบบางมีรกน้อย ฉ่ำน้ำ เนื้อผลสีส้ม รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย 

พื้นที่ลุ่ม นิยมปลูกแบบยกร่อง โดยมีขนาดของแปลงดินหลังร่องกว้างประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร และด้านล่างของร่องน้ำกว้างประมาณ 0.7 เมตร ส่วนความยาวไม่จำกัดแนวแปลงควรอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ เมื่อปรับพื้นที่เสร็จแล้ว ควรตากดินไว้ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้ดินแห้ง ระยะปลูกประมาณ 3.5 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 60 ต้น
 พื้นที่ดอน ไม่จำเป็นต้องยกร่อง ก่อนปลูกควรปรับพื้นที่ให้เรียบและไถกลบดินให้ลึกสัก 2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย ระยะปลูกประมาณ 5.5-6 x 5.5-6 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 45-50 ต้น

วิธีปลูกส้มเขียวหวานควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
 ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดเพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

การให้น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมากในการปฏิบัติดูแลรักษา เพราะถ้าปล่อยให้ส้มเขียวหวานขาดน้ำจะทำให้ต้นโทรม โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ระยะที่ปลูกใหม่ ๆ ควรให้น้ำทุกวัน หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ส้มเริ่มตั้งตัวได้แล้ว การให้น้ำควรให้วันเว้นแต่เมื่อส้มโตแล้วการให้น้ำจะต้องควบคุมให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงการเจริญเติบโตและสภาพทั่ว ๆ ไป เช่น ในระยะก่อนออกดอกจะต้องการน้ำน้อย เพื่อให้มีช่วงเก็บสะสมอาหาร แต่เมื่อติดผลแล้วจะต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงผลแก เมื่อเข้าสีแล้วควรลดปริมาณน้ำลงจากปกติจะช่วยให้ผลส้มแก่เร็วขึ้น วิธีการให้น้ำมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเช่นการให้น้ำทางสายยาง การใช้เรือรดน้ำ และการให้น้ำโดยระบบสปริงเกอร์ 


ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 1 ปี ควรใส่ปุ๋ยคอกผสมไปที่ดินบนโขดส้มประมาณ 10 ก.ก. หรือ 2 บุ้งกี๋/ต้น หลังจากปลูกประมา 1 เดือน ให้หว่านปุยยูเรียต้นละ 1 ช้อนแกง หรือ 30 กรัม ส่วนปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 15-15-15 ต้นละ 100 กรัม ประมาณ 3 เดือน/ครั้ง สำหรับปุ๋ยคอกให้อัตรา 2-3 บุ้งกี๋ หรือ 10-15 ก.ก. ทุก 4 เดือน
 ในระยะปีที่ 2- ควรใส่ปุ๋ยคอกทุก 4 เดือน อัตรา 2-3 บุ้งกี๋ หรือ 10-15 ก.ก. และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัม/ต้น ประมาณ 3 เดือน/ครั้ง
 ในช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป ส้มจะเริ่มติดผล ดังนั้นในช่วงที่ผลใกล้แก่ควรให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อช่วยให้ผลส้มมีคุณภาพดีขึ้น 
การตัดแต่งกิ่งเครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่ง
ได้แก่ กรรไกรตัดแต่งกิ่ง เลื่อย มีด และบันได โดยเลือกตัดแต่งกิ่งแขนงที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้นออกเพื่อให้แสดงแดดสามารถส่องถึงโคนต้น กิ่งปลายยอดที่ห้อยลงชิดดิน กิ่งที่อ่อนแอ กิ่งน้ำค้าง กิ่งที่มีลักษณะคดงอไขว้กัน ทับกันและกิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย
 
การกำจัดวัชพืชควรมีการกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก โดยใช้เครื่องมือตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ ซึ่งสามารถตัดต้นวัชพืชได้อย่างดีไม่นิยมใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชใกล้ ๆ กับต้นส้ม เพราะส้มเขียวหวานเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นอาจจะได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืช บางประเภทได้ 

ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา จะเกิดบริเวณโคนต้นใกล้ผิวดิน อาการเริ่มแรกเปลือกจะเป็นจุด ๆ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเน่าเปลือกที่เน่าจะมียางสีน้ำตาลไหลออกมา ใบเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้งและตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
โดยการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้สะอาด ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องถึงโคนต้นได้ อย่าให้มีน้ำขังหรือท่วมบริเวณโคนต้นเป็นเวลานาน ๆ เวลาปลูกส้มอย่าปลูกลึก ควรปลูกในลักษณะเป็นโคกและไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนมากเกินไป นอกจากนี้อาจใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น อาลีเอท อัตรา 100-120 กรัม/น้ำ 1 ลิตร โดยทาตรงส่วนโคนต้นที่เป็นโรค

ลักษณะอาการ โรคนี้จะมีเพลี้ยกระโดดเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไปติดกับกิ่งพันธุ์ทำให้ใบมีสีเหลืองจนถึงเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กเรียวและตั้งขึ้น ใบหนากว่าปกติ ผลมีขนาดเล็ก เมล้ดลีบ ร่วงก่อนกำหนด การป้องกันกำจัด คัดกิ่งพันธุ์ที่จะนำมาปลูกจากต้นในสวนที่แน่ใจว่าปราศจากโรค หรือฉีดสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดส้ม เช่น ไดเมทโธเอท อัตรา 30 ซี.ซี.น้ำ 20 ลิตร และทำลายส่วนต่าง ๆ ที่เป็นหรือสงสัยจะเป็นโรคนี้ 


ลักษณะอาการ ใบจะเป็นแผลกลมนูน แตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ในใบอ่อนจะเห็นวงสีเหลืองล้อมรอบแผล บางครั้งอาจมียางไหลออกมาด้วย อาการที่กิ่งจะเป็นแผลมีสะเก็ดที่เปลือก ถ้าเป็นมากจะทำให้กิ่งตาย อาการที่ผลจะเกิดรอยแตกตามขวาง การป้องกันกำจัด กิ่งที่จะนำไปปลูกต้องปราศจากโรคนี้ และไม่ปลูกมะนาวในสวนส้มเขียวหวาน เพราะมะนาวมักจะเป็นโรคนี้ ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดหนอนชอนใบ ในระยะแตกใบอ่อน ดอกและผลอ่อน เพราะหนอนจะทำให้ใบเป็นแผลเชื้อโรคเข้าไปได้ง่าย


ประเภทส้ม
1. ส้มจี๊ดและส้มจี๊ดด่าง


ลักษณะ คือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 1-2 เมตร ลักษณะใบสั้น-ป้อม ถ้าปลูกลงดินจะมีอายุอยู่ได้หลายปี ผลจะมีลักษณะกลมเล็ก สีเขียวเมื่อยังเล็ก เมื่อโตเต็มที่และสุก จะมีสีเหลืองส้ม
ส่วนส้มจี๊ดด่าง จะมีลายด่างขาวหรือด่างขาวเหลืองบนใบและผิดของลูก ซึ่งมีขนาดเท่าส้มจี๊ด เมื่อสุกจะออกสีเหลืองส้มเช่นเดียวกัน
  

ส้มจี๊ดหวาน

เป็นส้มที่ได้จากการเพาะเมล็ด ลักษณะลำต้นเหมือนกับส้มจี๊ดทั่วไป แต่ใบยาวกว่าส้มจี๊ดธรรมดา และมีหนามแหลมยาวตามกิ่งก้านที่แตกออกมาใหม่ เมื่อต้นมีความสมบูรณ์มาก ผลคล้ายส้มจี๊ดผสมส้มกิมจ๊อเป็นรูปหยดน้ำ สวยงาม เนื้อภายในมีรสชาติหวานมากกว่าส้มทั่วไป



2. ส้มคัมควอท์ - ส้มกิมจ๊อ
ลักษณะ คือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง สูง 1-2 เมตร คล้ายส้มจี๊ด ลักษณะใบเล็ก ปลายแหลมยาวกว่าส้มจี๊ด ลักษณะพิเศษ คือ เปลือกจะมีรสหวานสามารถทานได้ ส่วนเนื้อในจะมีรสเปรี้ยว เหมือนส้มจี๊ด หรือ บางทีเรียกกันว่า ส้มกินเปลือก ข้อด้อยของส้มชนิดนี้ คือ จะทำการขยายพันธุ์ได้ยาก ไม่สามารถทำการตอนกิ่งได้ หรือ ตอนออกได้ยาก จะใช้วิธีเสียบยอด หรือทาบกิ่งบนตอของส้มครีโอพัตรา ทรอยเย่อร์ หรือ มะนาวควาย (บางท้องที่เรียกมะนาวพวง หรือ มะนาวสีดา)





3. ส้มเขียวหวานบางมด
ลักษณะ คือ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 เมตร ใบสีเขียวสด ท้องใบออกสีนวลใบยาวเรียว จะกว้างกว่าส้มกิมจ๊อเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู เนี้อมีสีแดง รสชาติหวานอร่อย ชานนิ่มและมีเยื่อน้อย ขยายพันธุ์ได้ทั้งตอนกิ่งหรือเสียบยอด

4. ส้มเช้งและส้มเช้งด่าง
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูง 2-4 เมตร ใบป้อมกว้าง ผลใหญ่ รสชาติหวานอร่อย เปลือกหนากว่าส้มเขียวหวาน ขยายพันธุ์โดยการตอนหรือทาบกิ่ง ส่วนส้มเช้งด่าง จะมีใบและผลด่าง ราคาแพงกว่าส้มเช้งทั่วไป


5. ส้มเกลี้ยง
ลักษณะคล้าย ส้มเช้งแต่มีปลายใบแหลมเรียวกว่าและมีกลิ่นที่ใบฉุนกว่า ส้มชนิดนี้ใกล้จะสูญพันธุ์ เนื้อสีเหลืองมีรสชาติเข้มข้นกว่าส้มเช้ง ส้มชนิดนี้ต้องห่อด้วยใบตองแห้งตั้งแต่เล็ก เพื่อป้องกัน มวนส้ม และเพื่อเพิ่มรสชาติรวมทั้งทำให้สีผิวของส้มเหลืองสวย
สมัยโบราณ นิยมใช้ส้มชนิดนี้ทำของหวาน ซึ่งเรียกว่า ส้มลอยแก้ว นิยมใช้ถวายพระและทานกันในหมูชนชั้นสูงและคหบดี

6. ส้มแก้ว


ลักษณะคล้าย ส้มเกลี้ยง ปลายใบมน ใบมัน กิ่งก้านจะออกเป็นสีดำ เป็นส้มเปลือกร่อนที่ใหญ่ที่สุด มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ต้องมีการห่อผลตั้งแต่ยังเล็กเช่นกัน มีขนาดผลใหญ่ประมาณผลละ 0.5 กิโลกรัม ผลผลิตมักมีในช่วงปีใหม่ถึงตรุษจีนจะทำให้จำหน่ายได้ราคา

7. ส้มซ่า
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ ลักษณะใบคล้ายใบส้มโอคือ มีใบยอดและใบรองคล้ายใบมะกรูด ใบรองจะเล็กกว่าใบยอด ผลใหญ่กว่าส้มเช้ง ใช้ผิวนำมาปรุงอาหารไทยโบราณ เช่น โรยหน้าหมี่กรอบ ปลาแนม หรือนำมายำทาน ส่วนน้ำส้มซ่า จะมีรสชาติอร่อย มีวิตามินซี สูง สามารถนำมาปรุงน้ำคลุกหมี่กรอบและปรุงน้ำพริกขนมจีนได้

8. ส้มมะละกอ หรือ เชียงเหย่น
ลักษณะ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง ใบใหญ่ปลายมน มีหนามยาวแหลมคม ลักษณะผลใหญ่ คล้ายลูกมะละกอ เนื้อเปลือกมีรสซ่าเล็กน้อยและมีกลิ่นส้มด้วย เปลือกหนาเป็นส้มทานเปลือกเช่นเดียวกับส้มกิมจ๊อ โดยการนำเนื้อเปลือกสดมาจิ้มน้ำผึ้งทานหรือนำเนื้อเปลือกมาเชื่อมน้ำตาลแล้วย้อมสี นำไปแต่งหน้าฟรุตเค้ก รับประทานได้

9. ส้มมือ
ลักษณะ ใบจะคล้ายส้มมะละกอ แต่ตามลำต้นไม่มีหนามใหญ่ ผลมีลักษณะคล้ายกำปั้นหลวมๆ หรือ บางทีเรียก หัตถ์พระเจ้า ใช้ผลนำมาทำยาแก้ลมวิเวียน ที่เรียกกันว่า ยาดมส้มโอมือ

10. เกรฟฟรุต
ลักษณะ คล้ายส้มทั่วไป ใบบางใหญ่มีหนามแหลมคม เป็นส้มที่เจริญเติบโตได้เร็วมาก และมีโรคน้อยมาก ผลมีลักษณะใหญ่รสเปรี้ยวจัด เหมาะที่จะใช้เป็นต้นตอของส้มต่างๆ

11. ส้มจุก
 เป็นส้มพื้นเมืองของทางใต้ มีมากที่อำเภอจะนะ จังหวัดนราธิวาส ลำต้นมีทรงพุ่มขนาดกลางสูง 3-5 เมตร ใบจะกว้างใหญ่กว่าส้มทั่วไป ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีโรค เมื่อผลสุกมีรสหวาน อร่อยกว่าส้มชนิดอื่น
ขยายพันธุ์ด้วยการตอนหรือทาบกิ่ง